วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

สังคมเฟสบุ๊ก ตอนที่ 2

สังคมเฟสบุ๊ก ตอนที่ 2




การนำเสนอบทความ

ในเฟสบุ๊กนั้นมีผู้สร้างแฟนเพจขึ้นมามากมาย แต่ละเพจก็จะมีแนวทางแตกต่างกันไป การนำเสนอแบบนี้ค่อนข้างจะมีผลดี เนื่องจากผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงบทความได้ง่ายกว่ามาค้นหาเว็บ ซึ่งเพจที่มีคนสนใจก็จะมีจำนวนยอดไลค์ที่เยอะ เป็นที่เหมาะแก่การโฆษณาหรือประกาศข่าวได้เป็นอย่างดี คนเหล่านี้ต่างนำเสนอแนวความคิดของตนเองซึ่งผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ และการที่เพจนั้นมีแนวความคิดที่แปลกใหม่อะไรก็ตาม การที่จะทำให้แฟนเพจมีความคิดไปในทางเดียวกันนั้นก็เป็นไปได้ง่าย การชักจูง หรือการโฆษณาชวนเชื่อก็ยังมีให้เห็นกันในโซเชียลเป็นจำนวนมาก  ถึงความคิดเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควรในสังคมแต่ถ้าเพจนั้นมีการชักชวนคนหมู่มากได้ ความคิดที่ไม่เหมาะไม่ควรก็อาจกลายเป็นส่งที่ถูกต้องในเพจนั้นได้  และมีบ่อยครั้งที่แฟนเพจแต่ละเพจจะทะเลาะกันด้วยความคิดที่ไม่เหมือนกัน  

ความสำคัญของผู้ใช้

การที่มีเฟสบุ๊กเป็นที่ระบาย อยากโพสอะไรก็โพส ในเมื่อยังมีคนกดไลค์ให้เราอยู่ การที่เราจะคิดว่าเราจะโพสอะไรก็ได้โดยที่ไม่เห็นถึงความเหมาะสมก็มิอาจห้ามได้  โดยส่วนใหญ่คนที่กดไลค์และแสดงความคิดเห็นในโพสต่างๆของผู้ใช้จะเป็นเพื่อนฝูงหรือครอบครัวเสียส่วนใหญ่  น้อยครั้งที่จะมีคนที่เราไม่รู้จักมาแสดงความคิดเห็น  ยิ่งผู้ใช้มีคนรู้จักเยอะถึงแม้เราจะไม่รู้จักคนที่มากดไลค์เสียหมดแต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เราคิดว่าเรามีสิทธ์เพียงพอ  ตามนโยบายของเฟสบุ๊กมีเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลและการกดรายงานสิ่งที่ไม่เหมาะสมอยู่  รวมไปถึงการบล็อกผู้ใช้คนอื่นๆ  ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ต่อความรู้สึกคนที่ตนเองไม่รู้จักหรือไม่ชอบหน้า  การที่ใครสักคนเพิ่มเพื่อนมา ถ้าเป็นคนที่เรารู้จักก็จะกดยินยอม แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่รู้จักก็จะกดยกเลิก หลักการรับหรือเพิ่มเพื่อนก็มีอยู่ไม่กี่อย่าง คนที่เรารู้จัก คนที่หน้าตาดี คนที่อยู่ในโรงเรียนหรือองค์กรเดียวกัน การลบเพื่อนหรือบล็อกใครสังคนก็มีหลักการอยู่ไม่กี่อย่าง ส่วนใหญ่ถ้าไม่ทะเลาะก็เป็นบุคคลผู้นั้นสร้างความรำคาญ จะมีบางส่วนที่มีความต้องการผู้ที่สนใจในตนเอง เช่นการโพสประกาศว่า "ใครไม่ไลค์ ลบเพื่อน" ซึ่งเป็นการที่บ่งบอกว่าตนเองมีความสำคัญพอที่จะลบใครก็ได้ที่ไม่เห็นความสำคัญของตนเอง  การบล็อกเป็นการลบเพื่อนแบบไม่สามารถติดต่อกลับได้อีก  บุคคลที่ถูกบล็อกก็จะไม่เห็นผู้ที่บล็อกอีกต่อไป  ส่วนใหญ่มาจากผู้ที่ถูกบล็อก ไปสร้างความรำคาญ หรือเป็นการทะเลาะกัน  

การทะเลาะกัน

ปัจจุบันโซเชียลเข้าถึงคนส่วนมาก  นับวันคนยิ่งคุยกันน้อยลง  แต่จะส่งข้อความหากันมากกว่า  และยังรวมไปถึงการทะเลาะเบาะแว้งกัน บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นบนเฟสบุ๊ก  ไม่ว่าจะเป็นการก่อความรำคาญต่างๆ หรือการที่มีการด่ากัน  จึงถือกำเนิดคำว่า "นักเลงคีย์บอร์ด"  ขึ้นมา  ผู้ที่เคยได้ยินส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเป็นผู้ที่เก่งแต่หน้าจอ พอเจอตัวจริงก็ทำอะไรไม่ได้  หรือรวมไปถึงการด่าทอกันในเฟสบุ๊ก  ถ้าด่าในแชทเรื่องจบในแชทไม่มีใครรู้  แต่จะมีปัญหาทันทีที่มีการโพสแบบสาธารณะ เพราะคนอื่นๆก็จะเห็นและรับรู้ว่าทะเลาะกัน  ตรรกะของคนที่เข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ ในกรณีที่เมื่ออีกฝ่ายด่าตนเอง และตนเองก็ด่ากลับ ด่ากันไปด่ากันมาเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความคิดที่ว่าอีกฝ่ายเป็นนักเลงคีย์บอร์ด อีกฝ่ายจะกลายเป็นผู้ผิดต่อสังคมเฟสบุ๊กทันที เรื่องนี้จะได้เปรียบโดยเฉพาะผู้ที่มีคนรู้จักเยอะ  คนเหล่านี้จะผิดยากมาก เพราะมีคนคอยช่วยเหลืออยู่เยอะเพื่อไม่ให้ตนเองผิด  เรื่องการที่ตนเองไม่ต้องการเป็นฝ่ายผิด  แต่ถ้าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในโพส  แต่เกิดขึ้นในแชท  การที่หาข้ออ้างไม่ให้ตนเองผิดอย่างหนึ่งก็คือการ ประจานอีกฝ่าย เพื่อให้สังคมได้รับรู้  หรือเพื่อให้อีกฝ่ายอาย  การกระทำเช่นนี้หากเป็นอดีตจะถือว่าเป็นการกระทำที่ประจานตนเอง  เนื่องจากการทะเลาะอะไรกันไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมารับรู้ด้วย เป็นวิสัยของพวกที่แพ้ไม่เป็น  แต่ในสังคมเฟสบุ๊ก ยิ่งมีผู้ติดตามเยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ผู้ที่ถูกประจานก็จะเป็นฝ่ายผิดทันที วิธีประจานเช่นแคปคำด่าของอีกฝ่ายมาโพส  ความเป็นจริงก็แคปมาแต่คำที่ด่าอะแหละ คนที่เห็นโพสก็ไม่รู้หรอกว่าเกิดอะไรขึ้นใครเป็นฝ่ายผิดถูกกันแน่  แต่การที่จะประจานใครได้นั้นเราต้องคิดแล้วว่าเราไม่ผิดและต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ว่าคนที่ผิดคืออีกฝ่าย ไม่ใช่เรา 

เรื่องบางเรื่องก็สามารถทำให้เกิดการทะเลาะกันได้ง่ายๆ เช่นการโพสเหน็บแนมใครสักคน  การวิจารณ์คนกลุ่มหนึ่ง 

#แฮชแท็ก

#แฮชแทกเพื่อ#เท่าที่เจอมาในเฟซบุก#ขำๆ

1. ใช้อธิบายสถานะความรู้สึก หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นในภาพออกมาทั้งหมด แบบม้วนเดียวจบ โดยไม่สนความต่อเนื่องหรือความเกี่ยวข้องกัน ผู้เขียนเข้าใจอยู่คนเดียว ไม่ต้องการให้คนอื่นมาเข้าใจด้วย
เช่น " #3ปีแล้ว#อิอิอิ#มะก่ำตาแดง#ซอยสีลม19#งานยัดหมอน#ชะนีสองพี่น้อง#ชีวิตซานี่"

2.ใช้อธิบายรายละเอียดยิบย่อยเพิ่มเติมจากประโยคหลัก เหมือนบ่นดังๆเชิงเรียกร้องความสนใจ 
เช่น " มาเดินสยามคนเดียว #ไม่ค่อยอยากมา#ถือของหนัก#มันไม่ชิน#เดินไปเดินมาน้ำตาไหล#รองเท้ากัด

3. ใช้แสดงความรู้สึกคลั่งไคล้ของตนเองออกมาอย่างบ้าคลั่ง
เช่น " คืนนี้อย่าลืมดูน้าเดช#กรี๊ดดดดดดด#ตายแปปปปป#ฟินมว๊ากกกก#โอ้ย!!มันใช่#อั้ยย่ะ "

4.ใช้ถามเองตอบเอง กลัวโพสแล้วไม่มีคนมาตอบ
เช่น "ถ้าชีวิตต้องเจอคนห่วยๆแบบนี้ จะให้ทำไง? #สงบปากสงบคำ#ทำใจ#ตั้งสติ#หยุดนิ่ง#ลาขาด"

5.ใช้เพื่อต้องการบอกทุกคนว่าตัวเองสวยธรรมชาติจริงๆ
เช่น "แชะซักภาพ ขอลงซะหน่อย#หน้าสด#โนแอพ#โนฟรุ้งฟริ้ง#แพนด้ามาเต็ม#nofilter

6.ใช้เพื่อเตือนสติตัวเองว่ากำลังลดความอ้วน แต่วันนี้มันจำเป็น 
เช่น "จัดไปวันนี้ นานๆทีเจอเพื่อนเลิฟ #ซิทอัพมาเพื่อ#หมดกัน#เดินไม่ไหว#จะผอมไหม#บุฟเฟต์มื้อสุดท้าย#จริงๆนะ

7. ใช้ทำให้ข้อความของตัวเองเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน เพิ่มความโดดเด่น
เช่น "#ไม่รู้#ว่าจะ#แฮชแทก#ทำไม#มันทุกคำ#รำคาญ#ดีออก#จบปิ๊ง#555

ที่มา http://pantip.com/topic/32558648

การเรียกร้องความสนใจ

สิ่งที่ผู้ใช้ชอบในเฟสบุ๊กคือการได้ LIKE ยิ่งได้ไลค์เยอะแปลว่าเรามีคนสนใจ เรามีผู้ติดตาม เรามีชื่อเสียง  จึงมีการโพสเรียกไลค์กันเยอะ หรือไม่ก็มีการฝากไลค์รุปตามแชท หรือในกรณีด้านล่าง

เดี๋ยวนี้ facebook เค้าเล่นกันแบบนี้เหรอคะ ?? (ช่วยมาดูหน่อยเถอะค่ะ)

กระทู้คำถาม
เราเล่นเฟสบุค ทุกวันค่ะ มีเพื่อนในเฟส ทุกเพศทุกวัย
บางคน รู้จัก บางคนก็ ไม่รู้จัก

ก็เล่นไป เล่นมา ปกติทุกวันค่ะ ก็ไปสะดุด เจอกับ เพื่อนในเฟส จำพวกนึง เค้าโพสกันแบบ
ไม่เหมือนชาวบ้านเค้าโพสกัน ปกติ ก็โพสคำคมบ้าง บ่นบ้าง โพสเพลงบ้าง คลิปบ้าง อะไรแบบนี้ค่ะ
แต่นี่แปลกดีนะคะ เพิ่งเคยเห็น เลยนำมาให้ดูกัน
คิดว่า น่าจะมีเยอะเลยนะคะ ในเฟสบุค สงสัยจะเป็นเทรน อย่างนึง ที่เค้าเล่นกัน 555555
แต่คนจำพวกนี้ ลองคลิกไปดูข้อมูลดูแล้ว พวกเค้า ยังเป็นเด็กกันอยู่เลยค่ะ อายุ ยังไม่ถึง 18 เลยด้วยซ้ำ 5555
ก็คงจะมีแต่เด็กๆ ที่เล่นกัน ละมั้งคะ ที่มาตั้งกระทู้นี้ ไม่ได้มีเจตตนา พาดพิง หรือ ด่าว่า หรือดูถูกใคร
แค่นำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันเท่านั้นนะคะ ขออภัยด้วยค่ะ

รูปทุกรูป เซนเซอร์แล้วทุกรูปค่ะ ขออภัยเจ้าของด้วยนะคะ



ถึงกับแช่ง กันเลยทีเดียว 5555 เม่าตกใจ



โหววว คุณพระคุณเจ้า ยอดไลท์ มันมีความสำคัญขนาดนั้นเลยเหรอเนี่ยย เต่าเอือม









มีแบบนี้ด้วยแฮะ ช่างคิดกันจังเลย 555555 นานาโกรธ







มีให้แสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ เข้าใจคิดกันนะคะ เม่าอ่านหนังสือพิมพ์












ก็ประมาณนี้แหละค่า เท่าที่เห็นในเฟสบุค ฉันคิดว่า ก็ไม่ได้ร้ายแรงอะไร ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน
คงจะเล่นกัน สนุกๆ คงจะมีความคิดที่ว่าไลท์เยอะ คือเท่ คือดัง อะไรแบบนี้ละมั้งคะ ดูเพื่อความบันเทิงดีกว่าเนอะ


ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยค่าา หัวเราะ
ที่มา : http://pantip.com/topic/33401796

สังคมเฟสบุ๊ก : ตอนที่ 1

สังคมเฟสบุ๊ก ตอนที่ 1


1.เรื่องแปลกใหม่ของผู้เริ่มใช้





















ในช่วงที่เฟสบุ๊กยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ตอนนั้นก็มีโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆคอยบริการอยู่แล้ว เฟสบุ๊กห็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งโซเชียลที่ให้บริการเดิมๆที่เราเคยใช้นั้นรูปแบบค่อนข้างต่างไปจากเฟสบุ๊กพอควร การพิมพ์แชท การตั้งไทม์ไลน์ การตั้งสเตตัส การสร้างเพจ ซึ่งรูปแบบแปลกใหม่นี้ก็มีผู้ที่สนใจและใช้มากขึ้น ซึ่งเฟสบุ๊กเองก็มีการปรับปรุงให้เข้ากับผู้ใช้ให้ใช้ง่ายมากขึ้น เฟสบุ๊กจึงเป็นที่นิยมในเวลาไม่นานนัก 

เราอาจเคยโพสสเตตัสบางอย่างลงไปในโซเชียลอื่นๆ ซึ่งบางครั้งการที่จะทำให้โพสของเราเป็นที่สนใจก็เป็นเรื่องยาก แต่เฟสบุ๊กมีหน้าฟิตที่ประกาศเรื่องราวต่างๆที่เราได้โพสลงไปให้เพื่อนของเราได้รู้ แรกเริ่มอาจจะไม่ค่อยมีใครตั้งโพสแปลกๆหรืออะไรมากมาย ส่วนใหญ่จะเอาไว้แชทคุยกันหรือแจ้งข่าวบอกกล่าวเท่านั้น  ส่วนที่จะโพสไร้สาระจะเป็นแฟนเพจซะส่วนใหญ่ แอปพลิเคชั่นต่างๆก็ซิงค์กับเฟสบุ๊กมากขึ้น ผู้ใช้สามารถสร้างกลุ่มเป็นการส่วนตัวเพื่อพูดคุยเรื่องที่ตนเองสนใจ หรือตั้งกลุ่มในกลุ่มเพื่อนได้ 

2.การตั้งสเตตัสแรก

หลายๆคนก็เคยเห็นเพื่อนๆตั้งเตตัสต่างๆ ในช่วงแรกๆก็มีแต่แจ้งข่าว หรือถ่ายรูป แต่จะมีบางกลุ่มบางพวกที่ตั้งสเตตัสเป็นว่าเล่น ไร้สาระ หรือการเรียกร้องความสนใจ ซึ่งในช่วงแรกๆอาจจะดูแปลกๆในสังคม  แต่ต่อมาได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆก็สามารถทำได้ เฟสบุ๊กจึงเป็นที่ระบายต่างๆ สามารถทดแทนความเหงา สามารถทำให้คนรู้จักเราได้ และเป็นที่โชว์ผลงานให้คนทั่วไปเห็นอีกด้วย  สเตตัสส่วนใหญ่ที่เราเห็นในปัจจุบันก็ต่างจากเมื่อก่อนมาก ทุกวันนี้ใครๆก็เข้าถึงเฟสบุ๊กได้ ไม่ว่าจะโพสอะไรก็มีคนเห็น การโพสคำสวยหรู การโพสเรื่องตลกเฮฮาขำขัน การโพสเรื่องไร้สาระบ้าบอ ก็มีให้เห็นได้ทั่วไป 

3.ผู้ติดตาม

เป็นความเชื่อเมื่อนานมาแล้วเรื่องการที่เรายิ่งมีผู้ติดตามมาก หมายถึงตัวเรานั้นมีดี ตัวเราเป็นคนดัง มีการจ่ายเงินเพื่อซื้อผู้ติดตามให้เฟสตัวเอง ซึ่งการปั๊มผู้ติดตามนี้เป็นการหลอกตัวเองในส่วนหนึ่ง เฟสบุ๊กเองไม่ได้มีนโยบายแบบนั้น และการที่มีผู้ติดตามมากหมายถึงธุรกิจ ยิ่งมีคนเห็นสินค้าเราเยอะเราก็จะสามารถขายสินค้าได้เยอะนั่นเอง แต่ตัวเลขผู้ติดตามส่วนใหญ่มาจากเฟสปลอมซึ่งไม่มีผู้ใช้แต่สร้างไว้เพื่อปั๊มผู้ติดตามโดยเฉพาะ และได้กลายเป็นความคิดใหม่ของผู้คนที่ว่ายิ่งมีคนติดตามมากสินค้านั้นจะต้องดีมีคุณภาพแน่ๆ  อันที่จริงการรับรู้ถึงจำนวนของคนที่มาติดตามจริงๆเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถช่วยในการเลือกความเหมาะสมตามผู้ติดตาม ได้ตามความเป็นจริงนั่นเอง

4.ข่าวสาร

เมื่อเฟสบุ๊กมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก การนำเสนอข่าวสารต่างๆก็เป็นเรื่องง่าย ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถทันเหตุการณ์ได้ หรือเมื่อเราต้องการแจ้งข่าวต่างๆก็ทำได้ง่่าย ทุกวันนี้คนดูทีวีกันน้อยลง เนื่องจากข่าวสารสามารถรู้ได้จากโซเชียล และสามารถลงลึกถึงเนื้อหาและเกาะติดข่าวสารได้ตลอดเวลานั่นเอง แต่ก็มีปัญหาเมื่อข่าวนั้นไม่เป็นความจริงหรือมีการหลอกลวงกัน ก็จะมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อข่าวพวกนี้อยู่มาก การแจ้งข่าวทางโซเชียลจะรวดเร็วทันใจ การขอบริจาคก็ทำได้ง่าย

ทั้งหมดนี้เป็นข้อดีของเฟสบุ๊กโดยรวม ยังไม่ได้ลงลึกในผู้ใช้ส่วนใหญ่มากนัก